Quantcast
Channel: manmukem's blog
Viewing all articles
Browse latest Browse all 46

(ใจกว้าง) ถางทางต่างที่ไม่ลงรอย

$
0
0

ข้อเสนอถึงมิตรสหายทุกท่าน

กรณี : ก(ล)างเมือง ห้องเรียนเพศวิถี

“หากนักเคลื่อนไหวทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สันติภาพบนแผ่นดินเกิด”

แน่นอนความขัดแย้ง (ไม่ใช่สิ ความไม่เข้าใจกันมากกว่า) ที่กำลังงอกงามบนโลกโซเชียล ถือเป็นหนึ่งนิมิตรหมายอันดีสำหรับ “นักฝันทุกคน” ได้หันหน้ามาคุยกันอย่างจริงจัง

อย่าเพิ่งเบื่อในประเด็น เพราะประสบการณ์มากมายหลายปีที่ทับซ้อน ไม่เคยมีแนวทางอย่างเป็นจริงเป็นจังในการจัดการของพวกเรา (คนรุ่นใหม่) หากจะมีคือ แชร์แนวคิดผ่านสื่ออนไลน์เสียเป็นส่วนใหญ่

ทุกคนคือ นักวิชาการ ทุกคือผู้ทำงานเพื่อสังคม หนำซ้ำพวกเราเกือบจะทั้งหมดที่ออกมานำเสนอ คือ อาจารย์ และเรามีมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวม สิ่งเดียวที่เราหวังจากประชาชนพลเมืองและนักศึกษาของเรา คือ การพูดคุยแบบมีอารยะ เพราะสถาบันของเราสร้างวิถีแห่งความคิด มีองค์กรมากมายที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เราขับเคลื่อน

ด้วยประการทั้งปวง “การพูดคุยเปิดวงสำคัญที่สุด” (ไม่ใช่พูดคุยแบบปิดลับในห้องเล็ก ๆ) เพราะยังไงก็ไม่จบ เมื่อประเด็นเป็นสาธารณะและ ก(ล)างเมือง ห้องเรียนเพศวิถี ก็ได้ฉายไปสู่วงกว้าง ทุกคนกำลังรอคำตอบและการพูดคุยแบบมีเหตุมีผล ไม่ใช่ใช้อารมณ์ อคติ ความชังและด่าทอกันไปมาผ่านสื่อ”

หากเราจำได้ เรามีวัฒนธรรมเดียวกันคือ “มีอะไร คุยกัน!!!” แต่ไม่บ่อยนะที่เราจะคุยกัน เพราะโดยมาก เราโพสข้อความสาดใส่กันแบบผ่านไปทีเสียมากกว่า เมื่อความไม่เข้าใจเกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องทำคือ“เปิดพื้นที่ในการสื่อสาร (แบบตรงไปตรงมา)” หรือแบบ วิถีชาวบ้านที่เราทำกันในสังคมโบราณที่เราต่างเติบโตและได้รับวัฒนธรรมนี้มาไม่ต่างกัน

กรณี : ก(ล)างเมือง ห้องเรียนเพศวิถีถือเป็นกรณีศึกษาของนักเคลื่อนไหวทุกท่าน ได้เปิดวงคุยกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียที เพราะความไม่เข้าใจที่เกิดขึ้นเกิดจาก 2 ฝ่าย จนส่งผลให้ ฝ่ายสังเกตการณือีกหลายท่านเลือกข้าง แชร์ทัศนะ และตั้งคำถามกันไปต่าง ๆ นานา จนท้ายที่สุด ก็มีอะไรดี ๆ ปรากฏออกมาจนเราพอเห็นทางออกร่วมกันของสันติภาพ

หากนักสันติวิธีทุกท่าน (ผมมองว่าทุกคนที่เข้ามาพัวพันเรื่องนี้คือนักเคลื่อนไหว) ไม่หันมาคุยกัน สันติภาพใน 3 จังหวัดและสังคมไทยจะเกิดขึ้นได้เหรอ เพราะ พวกเราทุกคน บอกตัวเองและคนอื่นมาตลอดว่า เป็น “นักสันติวิธี” บ้างก็ “นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน”

เรื่องนี้จึง(ต้อง)จบลงด้วยการเจรจาแบบเปิดและเจรจาแบบ 2 ฝ่าย ไม่มีความชัดเจนสำหรับการพูดอยู่ฝ่ายเดียว ข้างเดียว (แม้สัมมนาระดับชาติ ก็เหอะ) หากการเจรจาแบบฝ่ายเดียว ดำเนินไปในสังคมขัดแย้ง สิ่งที่เราได้รับกลับบ้านคือ “บาดแผลและผ้าพันแผล” แห่งความต่างไปไม่ต่างกัน

ผมนั่งดูรายการ: ก(ล)างเมือง ตอน “ห้องเรียนเพศวิถี” ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 อยู่ห่าง ๆ จากประเทศอินเดียและพอจะสรุปได้ตามที่เห็นในสื่อว่า ความไม่เข้าใจกันในครั้งนี้ มีหลายตัวละครเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถสรุป (ตามมุมมองของผมน่ะ มุมมองแบบไกล ๆ) ได้ดังนี้คือ

1. คนต้นเรื่อง:

- อาจารย์ดาราณี ทองศิริ (ปลา) Daranee Thongsiri ซึ่งท่านได้ชี้แจงผ่าน “จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักวิชาการและนักกิจกรรม กรณีห้องเรียนเพศวิถี” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560

- อาจารย์อันธิฌา Anticha Sangchai ซึ่งท่านเป็นผู้หนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายงานการดังกล่าว

2. คนค้นเรื่อง :

- อาจารย์โชคชัย วงศ์ตานี Chokchai Wongtaneeนักวิชาการจากสถาบันสันติวิธี ม.อ.หาดใหญ่ (เพียงในมุมมองของผมน่ะ) อาจารย์ได้พูดถึงประเด็นนี้ในเฟสของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อการพูดคุยกันต่อเนื่องและยืดยาว ) ซึ่งอาจารย์ก็ได้แถลงการณ์ออกมาเพื่อชี้แจง “ถึงพี่น้องมุสลิมและพี่น้องต่างสาสนิกร่วมสังคมปาตานีทุกท่านที่อ่านโพสต์ของผม” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560”

3. คนคุยเรื่อง:

- พวกเรา (บางคน) ชาวโลกโซเชียลที่เข้ามาอ่าน มาเห็น คอมเม้นท์และตอบคำถาม ตลอดจนแสดงความคิดเห็น

- องค์กรของท่านบังวี Alavee Al-alavee แห่งสำนักปาตานีฟอรัม (แม้จะเข้าไปคพูดคุยแล้ว ก็ก็ระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะในวงกว้างไม่ได้มีสื่อฉายให้เห็นมุมมองและวงแลกเปลี่ยนดังกล่าว)

- เจ้าหน้าที่ดีพเซาท์ อย่างบังอิมรอน Imron Sahoh Binmustofaสื่อที่พยายามทำหน้าที่ของตนท่ามกลางความขัดแย้ง

- Vaheda Kladpeachเป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

- Vanisah Sulongก็เป็นอีกหนึ่งในนักกิจกรรมในพื้นที่ที่พูดถึงประเด็นนี้

- Thaweesak Pi ก็เป็นผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างถึงแกน

4. คนเข้าเรื่อง:

- น้อง ๆ นักศึกษา ม.อ. ปัตตานี ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว “ห้องเรียนเพศวิถี” ณ ร้านหนังสือบูกู

5. คนเขียนเรื่อง”

- อาจารย์ชุโกร ดินอะ Shukur Dina นักวิชาการหนึ่งในอาจารย์ที่แสดงความคิดเห็นในโพสและเขียนเรื่อง

- เอ. อาร์ มูเก็ม Abdunroh man Mukemได้เขียนจดหมายถึงอาจารย์คนต้นเรื่องเพื่อนำเสนอประเด็นปลีกย่อยที่เห็นต่าง ๆ

- วาริช หนูช่วย TheRich WaRich ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและนำเสนอแง่คิดปรากฏการณ์ดังกล่าว

- และนักเขียนท่านอื่น ๆ ที่ได้นำเสนอประเด็นนี้

6. คนเคลียร์เรื่อง (คอยทุกคนเข้ามา) เพื่อให้ข้อคิดครั้งนี้ได้หาทางออกร่วมกัน และทำความเข้าใจในความต่างกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียที

*** หมายเหตุ*** การพูดคุยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่าย

1. ใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี (หรือสถานที่อื่นที่เหมาะสมกับการเข้าร่วมของทุกคน ทางที่ดีคือ มหาวิทยาลัยเพราะเป็นหลักบ่มเพมันสมองอยู่แล้ว) เพื่อถกสาธารณะประเด็นดังกล่าว

2. องค์กรที่เหมาะสมแก่การจัดงานดังกล่าวเท่าที่มองผ่านภาพรวมคือ ปาตานีฟอรัมและดีพเซาท์ ครับ

3. เชิญผู้เกี่ยวข้องมาเป็นวิทยากร เช่น อาจารย์โชคชัย วงศ์ตานี และ อาจารย์ชุโกร ดินอะ (เพราะมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น หรือ อาจารย์ท่านอื่น ๆ)

4. เชิญคนต้นเรื่อง คือ อาจารย์ดาราณี ทองศิริ (ปลา) และอาจารย์อันธิฌา มาพูดคุย (เพราะเป็นผู้โด่งดังในโลกโชเชียลในประเด็นดังกล่าว)

5. เชิญนักศึกษาและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟัง

6. อัดวิดีโอเพื่อให้คนทั้งประเทศรับฟังการพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน เพราะรายการ ก(ล)งเมือง ตอน “ห้องเรียนเพศวิถี” ดังกล่าวก็ออกอากาศทั่วประเทศมาแล้ว

(เรามีทุกอย่างพร้อม เหลือเพียงจัด เพื่อสร้างองค์ความรู้อีกชุดขึ้นมา ผมว่าทุกคนน่าจะร่วมยินดีนะครับ)

แม้การปรับความเข้าใจเป็นไปได้ดีของบุคคลที่เกี่ยวข้อง กระนั้นเมื่อ “ความเห็นต่างไหลเข้าสู่สังคมสาธารณะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพูดคุยก็สมควรจะเกิดขึ้นแบบสาธารณะอย่างหลีกหนีไม่พ้น”และแน่นอนในมุมมองของผมคือ เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ถกสาธารณธและ มี “ชุดความคิดแห่งการจัดการแนวคิดต่างให้กับสังคม” เพื่อเป็นองค์ความรู้และบทเรียนร่วมกันให้กับสังคมของเราและเยาวชนของประเทศชาติต่อไป เพราะ

“เรายังมีนักศึกษาและประชาชนของเราที่มีส่วนได้ส่วนกับเรื่องนี้ในชีวิตจริงของพวกเขา”

หากเราปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไป ความไม่เข้าใจและความชัง ก็ยังขังอยู่ในวิถีของพวกเขา เมื่อถึงตอนนั้น มันก็จะเกิดปรากฏการณืใหม่ ๆ ในรูปแบบอื่น ๆ และตัวละครอื่น ๆ อีกเหมือนที่เคยเกิดขึ้น (กรณ๊ การกินหมูของนักเรียนไปทัศนะศึกษา หรือ กรณ๊ฮิญาบโรงเรียนวัดหนองจอก) ในที่สุด

ท้ายที่สุด ในความไม่เข้าใจ สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องแลกเปลี่ยน นอกจากจะวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ของกันและกันแล้ว ทว่า เรายังเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้แบ่งปันวิถีถีคิดและสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน หากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกัน ความขัดไม่เข้าใจก็ยิ่งถางกว้างอยู่ดี

“สิ่งที่เราข(ล)าดมาตลอดคือ การทำความเข้าใจความต่าง บนแผ่นดินเกิด จนเราอยู่ร่วมกัน กินข้าวด้วยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน ทำงานร่วมกัน สัมมนาร่วมกัน แต่ ลึก ๆ แล้ว “ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ” เราไม่เข้าใจความต่างของกันและกันไปในที่สุด”

ด้วยประการทั้งปวง ผมเป็นเด็กน้อย ที่มิอาจแม้กระทั่งเสนอความคิดเห็น เพราะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องล้วนเป็นครู อาจารย์และนักกิจกรรมเพื่อสังคมทั้งสิ้น ทว่า เมื่อมาถึงขั้นนี้ ก็อยากจะขอนำเสนอเพื่อความสันติบนแผ่นดินเกิด

ขออภัยที่ล่วงเกินทุกท่านด้วยการเอ่ยนาม

ด้วยความเคารพมิตรสหาย

วัสลาม

เอ.อาร์ มูเก็ม

มหาวิทยาลัยมุสลิมอาลีการ์ ประเทศอินเดีย

Thai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 46

Trending Articles